วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 30 กันยายน 2557




สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระโดยแจ้งให้เพื่อนทราบแล้ว วันนั้นฝนตกหนักและฟ้าร้องแรงมากจึงทำให้เพื่อนๆบางส่วนกลับบ้านไปก่อนหัวหน้าห้องจึงโทรแจ้งอาจารย์ ทำให้สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน


วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 23 กันยายน 2557



ความรู้ที่ได้รับ
 สรุปบทความ
1 .นางสาว นภาวรรณ  กรุดขุนเทียน  สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและไก่
เป็นการเรียนโดยมีเพลงเป็นตัวกลาง  นำเด็กๆร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
2. นางสาว สุธาสินี ธรรมมานนท์  สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นั้นไม่ควรแยกแยะควรที่จะพัฒนาในองค์รวมทั้ง4 ด้านไปพร้อมๆกัน
3. นางสาว นฤนล อิสระ  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เด็กปฐมวัยอยากรู้อยากเห็น โดยการจะตั้งคำถามว่า  ทำไม  อะไร 
4. นางสาวยุพดี  สนประเสริฐ  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสือเสาะหาความรู้ ลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบกาณ์โดยตรง
 การเรียนการสอนในวันนี้

อาจารย์ให้จัดกิจกรรมการสอนตามที่สนใจ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีหัวข้อที่ครอบคลุมมีชื่อเรื่องที่เด็กๆสนใจ
กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่อง  นกหงส์หยก
1.ชนิด
2.ลักษณะ
3.วิธีการดูแลรักษา
4.การดำเนินชีวิต
5.ประโยชน์
6.แปรรูป
7.ข้อควรระวัง

กิจกรรมแรงโน้มถ่วง



การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า


การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์ และได้ออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน คุยเป็นช่วงๆ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา ออกไปทำกิจกรรมหน้าห้องเรียนกันทุกคน


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 16 กันยายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ
    อาจารย์ให้ฟังเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แล้วอาจารย์ก็ถามว่าเพลงนี้มีความหมายเป็นอย่างไร ได้ความรู้จากเพลงอะไรบ้าง อาจารย์ให้นักศึกษาบอกเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยคนละ1 เพลง ห้ามซ้ำกัน หลังจากทำกิจกรรมการเพลงชื่อเพลงเสร็จ อาจารก็ให้ออกมา นำเสนอบทความตามเลขที่
เพื่อนได้นำเสนอ คือ
1. นางสาว  วีนัส  ยอดแก้ว นำเสนอบทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ จำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมและการจัดประสบการณ์ในรูปแบบบรูณาการที่สามารถส่งเสริมทั้ง4 ด้าน  ครูปฐมวัยควรรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลา เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดวิทยาศาสตร์อะไรกับเด็กครูสามารถนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ไปจักกิจกรรมได้
2. นางสาว  เจนจิรา  บุญช่วง  นำเสนอบทความเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
เป็นการส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้พืชอย่างใกล้ชิด พ่อแม่เป็นบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมซึ่งพ่อแม่สามารถหากิจกรรมให้กับเด็กโดยใช้บริเวณบ้านในการทำกิจกรรม เช่น ให้เด็กได้เรียนรู้การทำกับข้าว หัดให้เด็กได้ปลูกผักเป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า


การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้ของแสง

ความรู้ที่ได้รับ


แสง เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้

แหล่งกำเนิดแสง

แหล่งกำเนิดแสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด

2. แสงจากสัตว์ สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง

3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้

การเดินทางของแสง

แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา 8 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง 93 ล้านไมล์

ตัวกลางของแสง

ตัวกลางของแสง หมายถึง วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส

2. ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น

3. ตัวกลางทึกแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น

การหักเหของแสง

แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ

การหักเหของแสงผ่านเลนส์

เลนส์ คือ วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน เลนส์แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. เลนส์นูน มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน

2. เลนส์เว้า มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า

สรุปบทความ

 การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีท่ี 2 โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง


1. การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง
บทคัดยชื่อเรื่อง     การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล            
ปีที่โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง
ชื่อผู้ศึกษา  นางอรุณา   วชิราภากร
   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง  (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ระหว่างก่อนกับหลังการใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง (3) เพื่อศึกษาความพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2  ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติทดลอง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนบ้านหารเทา(จรุงราษฎร์ดำเนิน) จำนวน 25 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 แผน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D)  และการทดสอบค่าที (t-test)
                       ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่2มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.02/81.60  (2) ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมและประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง ปรากฏว่าหลังการจัดกิจกรรมและประสบการณ์นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สูงขึ้นก่อนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (3) ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ที่มีต่อกิจกรรมและประสบการณ์บูรณาการในการปฏิบัติทดลองปรากฏว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่/มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีจำนวนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 9 กันยายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ


การนำไปประยุกต์ใช้

   นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า

การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน


บันทึกอนุทินครั้ง ที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 2  กันยายน   2557

อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ 
ของคณะศึกษาศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับ
สามารถนำความรู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมไปใช้ในอนาคตได้ และเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กอีกด้วย 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 26  สิงหาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับ
การนำไปะยุกต์ใช้

สามารถนำสิิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ในการสอนในอนาคตได้  เช่นการตอบคำถามแบบปลายเปิด


การประเมินผล

ประเมินตนเอง =  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
เกือบทุก


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์  จินตนา   สุขสำราญ

วันที่ 19  สิงหาคม  2557

อาจารย์ได้แจก course  syllabus และบอกข้อตกลงในการเรียน