หน่วยงาน

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย
การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย สายทิพย์ ศรีแก้วทุม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร


วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สมมติฐานการวิจัย
ความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการดำเนินการวิจัย 
นักเรียนชั้นอนุบาล2 อายุ 5-6 ปี ใช้การสุ่มอย่างง่ายห้องเรียนมา1 ห้องจากห้องเรียน 2ห้องแล้วจับฉลาดรายชื่อนักเรียนเข้าสู่การทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ15คนรวมเป็นทั้งหมด 30 คน
เครื่องในการวิจัย

เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย  1. แผนการสอนกิจกรรมสร้างสรรค์ 2, แบบปกติและแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลแบ่งเป็น5 ด้าน คือการจำแนกการจัดประเภท การอุปมาอุปามัย อนุกรมและสรุปความ

ช่วงเวลาการทดลอง

ภาคเรียนที่1 เป็นเวลา8 สัปดาห์

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน
การเปรีบยเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

ผลการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ครั้ง ที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 02 ธันวาคม  2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูของแต่ละคน
เพื่อนได้นำเสนอเรื่อง  
วิจัย
-การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-ผลการจัดประสบการที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบ-โครงงานกับแบบสืบเสาะหาความรู้
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โทรทัศน์ครู
-สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
-วิทยาศาสตร์สนุก
-เสียงและการได้ยิน
-ผงวิเศษช่วยชีวิต
หลังจากนำเสนอเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำงานกลุ่มต่อ 
ภาพกิจกรรม










การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ สามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปเผยแผ่ให้กับเด็กได้เพราะในชีวิตประจำวันนี้วิทยาศาสตร์สำคัญ กับเด็กมาก จากการฟังที่เพื่อนนำเสนอสามารถนำไปใช้สอนได้ เช่นเรื่อง ผงวิเศษช่วยชีวิต

การประเมินผล


ประเมินตนเอง = แต่งกายเรียนร้อย มีส่วนร่วมกันมนตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอโทรทัศน์ครู และวิจัย เพื่อนทำขนมอย่างสนุกสนาม

ประเมินผู้สอน =อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโทรทัศน์ครูและวิจัย และยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 25 พฤจิกายน 2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูของแต่ละคน
 ดิฉันได้นำเสนอโทรทัศน์ครู
สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
ของเพื่อนได้นำเสนอ
-การกำเนิดของเสียง
-สารอาหารในชีวิตประจำวัน
นำเสนอวิจัย
-ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
-ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
-การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร
-การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล

หลังจากนำเสนอเรียบร้อย อาจารย์ได้สอนการทำขนม Waffle"
ส่วนผสม
1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)

วิธีการทำ
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน
3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป
4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้
5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์






การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการสอนทำอาหารได้ในหลายเรื่องมาก และเด็กๆก็ยังชอบมากด้วย เพราะเด็กๆสามารถลงมือทำจริงหรือปฏิบัติได้จริง  เด็กจึงมีความสนใจมากและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง


การประเมินผล


ประเมินตนเอง = แต่งกายเรียนร้อย สัปดาห์นี้ ได้นำเสนอโทรทัศน์ครู ได้เตรียมเนื้อหามาพร้อม

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอโทรทัศน์ครู และวิจัย  เพื่อนทำขนมอย่างสนุกสนาม

ประเมินผู้สอน =แาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโทรทัศน์ครูและวิจัย อาจารย์ก็ได้สอนวิธีการทำขนม Waffle ได้อย่างละเอียดนักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมและได้ลงมือปฎิบัติจริง เพราะอาจารย์มีวิธีในการสอนที่ดีและให้นักศึกษามีส่วนได้อย่างทั่วถึง

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 18 พฤจิกายน 2557

 สัปดาห์นี้ ยังเหลือเพื่อนๆที่นำเสอนแผนการสอนอีก3กลุ่ม
1.นกหงส์หยก (กลุ่มของดิฉัน)  ได้สอนการเปรัยบเทียบความเหมือนความต่างของนกหงส์หยก
2. สับปะรด ได้สอนประโยชน์และข้อควรระวัง
3. ส้ม ได้สอนประโยชน์จจากการแปรรูป



หลังจากนำเสนอแผนการสอนเรียบร้อยแล้ว เพื่อนก็ได้ออกมาอ่าน วิจัยและโทรทัศน์ครู

กิจกรรมในห้องเรียนทำไข่เทอริยากิ




เป็นกิจกรรมที่สามารถสอนเด็กปฐมวัยได้ 
ส่วนผสม
1.ไข่ไก่ =Egg
2.ข้าวสวย=Rice
3.แครอท=carrot 
4.ต้นหอม =leek
5.ปูอัด= a crab compresses
6.ซอสปรุงรส
7.เนย =better
วิธีการทำ
1.ตีไข่ใส่ชาม
2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้

การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย  และการทำเทอริยากิไข่ก็สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยในอนาตคได้

การประเมินผล


ประเมินตนเอง = แต่งกายเรียนร้อย สัปดาห์นี้ กลุ่มของดิฉันได้เตรียมพร้อมการนำเสนอ แต่ยังนำเสนอไม่ค่อยดีต้องปรับปรุงการสอนอีกเยอะ

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอแผนการสอนได้ดีค่ะ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เพื่อนสอนแผนการสอน

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด และให้คำแนะนำกับนักศึกษาค่ะ

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู


 เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช   

อาจารย์ สมาน  เลิศทหาร  โรงเรียน วัดจันทร์ประดิษฐาราม


สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้ยอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยนักเรียนจะศึกษาโครงงานหากมีปัญหาเรื่องโครงงานนั้นจะมี ครูให้คำปรึกษาเรื่องปัญหา ซึ่งครูจะไม่บอกวิธีการไปหมด แต่ครูจะค่อยๆบอกเพื่อเป็นแนวทางเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดแล้วเด็กก็จะจำในเรื่องนั้นๆได้
เป็นเรื่องของการการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนซึ่งวิธีการที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีความก้าวหน้า คือ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนประกอบด้วยการแก้สถานการณ์ต่างๆ ให้เด็กสนใจเรียน ครูต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอน ทุก 15 นาที่ ต้องสร้างเงื่อนไขเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจ สร้างข้อตกลงในชั้นเรียน สุดท้ายให้กำลังใจและคำชมเชย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้นักเรียนเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังคงใช้กระบวนการเรียนการสอนในเรื่องของการจัดการชั้นเรียนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในห้องเรียน ถ้าครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบนี้ได้ ก็จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นมีประโยชน์กับนักศึกษาวิชาชีพครูมากเพราะในการฝึกสอนเขาจะต้องมีวิธีการจัดการชั้นเรียนให้ได้

บันทึกอนุทินครั้ง ที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 11 พฤจิกายน 2557

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีหน่วยต่างๆมากมาย มีทั้งหมด9  กลุ่ม
 1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์
 2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
 3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ 
 4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
 5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์ 
 6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์
 7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร
 8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
 9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี

 สัปดาห์นี้นำเสนอ6 กลุ่ม อีก3กลุ่ม สัปดาห์หน้า
 กลุ่มที่1 ผลไม้


กลุ่มที่ 3 ข้างโพด

กลุ่มที่4 แตงโมง

กลุ่มที่ 5 กล้วย

กลุ่มที่6 ช้าง

กลุ่มที่ 7 ผีเสื้อ

การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย  

การประเมินผล


ประเมินตนเอง = สัปดาห์นี้ ดิฉันไม่ได้นำแผนไปสอนเนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าสอนสัปดาฆ์ค่ะ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอแผนการสอนได้ดีค่ะ

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด และให้คำแนะนำกับนักศึกษาค่ะ






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 04 พฤจิกายน  2557

ความรู้ที่ได้รับ
 อาจารย์ได้สอนวิธีการเขียนแผน อาจารย์ได้ให้นั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้เรื่อง นกหงส์หยก
การเขียนแผนมีรูปแบบดังนี้
เสริมประสบการณ์
เคลื่อนไหวและจังหวะ
ศิลปสร้างสรรค์
เสรี(มุม)
เกมกลางแจ้ง
เกมการศึกษา


วัตถุประสงค์ของนกหงส์หยก

-ชนิด
-ลักษณะ
-ประโยชน์ข้อควรระวัง
-การขยายพันธ์
-การดำรงชีวิต

การนำไปใช้
สามารถนำกิจกรรมที่เรียนวันนี้ไปใช้สอนในอนาคตได้


การประเมินผล


ประเมินตนเอง
= ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษาได้มีการทดลองกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน ได้ให้แนวการเขียนแผน

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 28  ตุลาคม 2557



ในสัปดาห์นีอาจารย์ได้กิจกรรมการทดลองมาให้นักศึกษาได้ทดลองกันในห้องเรียน 


 
                                        


กิจกรรมต่อมาคือ อาจารได้แจกกระดาษให้นักศึกษาได้ตัดเป็นรูปดอกไม้ พับให้เป็น4มุม แล้วระบายสีหลังจากนั้นให้เอาดอกไม้ที่พับนั้นไปลอยในน้ำ ทำให้ดอกไม้ที่พับอยู่บานออกมา



 การทดลองดินน้ำมัน  ปั่นดินน้ำมันเป็นลุกวงกลม แล้วให้ทิ้งในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น  ไม่เกิดอะไรขึ้นแต่ดินน้ำมันจมอยู่ในน้ำ



การทดลองดินน้ำมัน อีกรูปแบบหนึ่งคือ  ทำยังไงก้อได้ไม่ให้ดินน้ำมันจม  
 ดิฉันปั่นดินน้ำมันเป็นรูปตระกร้า

   

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ได้ให้เขียนแผนของแต่ละกลุ่ม

การนำไปใช้

สามารถนำกิจกรรมที่เรียนวันนี้ไปใช้สอนในอนาคตได้


การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษาได้มีการทดลองกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน ได้ให้แนวการเขียนแผน









วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่  21  ตุลาคม 2557



สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์ พร้อมบอกวิธีการทำ วิธิการเล่น และบอกของเล่นชิ้นนี้เกี่ยวอะไรกับวิทยาศาสตร์  ของเล่นที่ดิฉันนำเสนอคือ  หนังสติ๊กจากไม้ไอติม



หลังจากนำเสนองานครบหมดทุกคน อาจารย์ก้อได้ให้ประดิษฐ์ของเล่นจากแกนทิชชู่


วิธีการทำ

1.ตัดแกนทิชชู่  เจาะรูทั้ง 2 ฝั่นตรงข้าม
2. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปในรูที่เจาะ
3.แล้ววาดลงไปที่แกนทิชชู่ที่เราชอบ 



การนำไปใช้
สามารถนำผลงานที่เรียนวันนี้ไปใช้ในอนาคตได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์ และได้ออกนำเสนองานหน้าห้อง คุยเป็นช่วงๆ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา ได้ออกนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกัยประดิษฐ์ของเล่น




ของเล่นวิทยาศาสตร์

คือ หนังสติ๊กจากไม้ไอติม


อุปกรณ์

ไม้ไอติม
กระดาษสี
กรรไกร
หนังยาง
คัดเตอร์

วิธีการทำ
 1.นำไม้ไอติมทำเป็นรูปตัวY 


2. นำหนังยาง 3 เส้นมาร้อยต่อกัน และรัดที่ปลายทั้ง 2 ข้าง


3. ตัดไม้ไอติมและกระดาษนำมาตัดเป็นคล้ายกลีบดอกไม้ ม้วนกลีบโค้งเพื่อเป็นการถ่วงน้ำหนัก

4. เสร็จวิธีการทำสามารถนำไปทดลองเล่นดู


วิธีการเล่น


เอาส่วนที่เป็นตะขอเกี่ยวกับหนังสติ๊กและยิ่งขึ้นฟ้า ลูกยางก็จะค่อยๆหมุนลงมาค่อยๆอย่างสวยงาม

หลักวิทยาศาสตร์

ดีดไม้ไอติมจะทำให้ไม้ไอติมลอยขึ้น เพราะการดึงไม้ไอติมก็จะเกิดพลังงานที่สะสมในหนังยาง แล้วเมือปล่อยก็จะเกิดเป็นพลังงานจล และที่ลูกยางค่อยๆหมุนลงมาเพราะเกิดจากการแรงต้านทานของปีกลูกดอก เป็นหลักการเดียวกันกับเครื่องบิน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 14  ตุลาคม 2557


ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่พร้อมออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยที่ไม่ต้องมีลูกเล่นออกมาก่อน  เพียงแค่อธิบายการทำ อธิบายการเล่นเกีียวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำเพื่อที่จะไปปรับปรุงของเล่นให้ดีขึ้น

การนำไปใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า

การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์ และได้ออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน คุยเป็นช่วงๆ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา  ได้ออกนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกัยประดิษฐ์ของเล่น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 7 ตุลาคม 2557



ไม่มีการเรียนการสอน เป็นช่วงสอบปลายภาค




วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 30 กันยายน 2557




สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระโดยแจ้งให้เพื่อนทราบแล้ว วันนั้นฝนตกหนักและฟ้าร้องแรงมากจึงทำให้เพื่อนๆบางส่วนกลับบ้านไปก่อนหัวหน้าห้องจึงโทรแจ้งอาจารย์ ทำให้สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน


วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 23 กันยายน 2557



ความรู้ที่ได้รับ
 สรุปบทความ
1 .นางสาว นภาวรรณ  กรุดขุนเทียน  สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและไก่
เป็นการเรียนโดยมีเพลงเป็นตัวกลาง  นำเด็กๆร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
2. นางสาว สุธาสินี ธรรมมานนท์  สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นั้นไม่ควรแยกแยะควรที่จะพัฒนาในองค์รวมทั้ง4 ด้านไปพร้อมๆกัน
3. นางสาว นฤนล อิสระ  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เด็กปฐมวัยอยากรู้อยากเห็น โดยการจะตั้งคำถามว่า  ทำไม  อะไร 
4. นางสาวยุพดี  สนประเสริฐ  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสือเสาะหาความรู้ ลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบกาณ์โดยตรง
 การเรียนการสอนในวันนี้

อาจารย์ให้จัดกิจกรรมการสอนตามที่สนใจ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีหัวข้อที่ครอบคลุมมีชื่อเรื่องที่เด็กๆสนใจ
กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่อง  นกหงส์หยก
1.ชนิด
2.ลักษณะ
3.วิธีการดูแลรักษา
4.การดำเนินชีวิต
5.ประโยชน์
6.แปรรูป
7.ข้อควรระวัง

กิจกรรมแรงโน้มถ่วง



การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า


การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์ และได้ออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน คุยเป็นช่วงๆ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา ออกไปทำกิจกรรมหน้าห้องเรียนกันทุกคน


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 16 กันยายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ
    อาจารย์ให้ฟังเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แล้วอาจารย์ก็ถามว่าเพลงนี้มีความหมายเป็นอย่างไร ได้ความรู้จากเพลงอะไรบ้าง อาจารย์ให้นักศึกษาบอกเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยคนละ1 เพลง ห้ามซ้ำกัน หลังจากทำกิจกรรมการเพลงชื่อเพลงเสร็จ อาจารก็ให้ออกมา นำเสนอบทความตามเลขที่
เพื่อนได้นำเสนอ คือ
1. นางสาว  วีนัส  ยอดแก้ว นำเสนอบทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ จำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมและการจัดประสบการณ์ในรูปแบบบรูณาการที่สามารถส่งเสริมทั้ง4 ด้าน  ครูปฐมวัยควรรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลา เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดวิทยาศาสตร์อะไรกับเด็กครูสามารถนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ไปจักกิจกรรมได้
2. นางสาว  เจนจิรา  บุญช่วง  นำเสนอบทความเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
เป็นการส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้พืชอย่างใกล้ชิด พ่อแม่เป็นบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมซึ่งพ่อแม่สามารถหากิจกรรมให้กับเด็กโดยใช้บริเวณบ้านในการทำกิจกรรม เช่น ให้เด็กได้เรียนรู้การทำกับข้าว หัดให้เด็กได้ปลูกผักเป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า


การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้ของแสง

ความรู้ที่ได้รับ


แสง เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้

แหล่งกำเนิดแสง

แหล่งกำเนิดแสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด

2. แสงจากสัตว์ สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง

3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้

การเดินทางของแสง

แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา 8 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง 93 ล้านไมล์

ตัวกลางของแสง

ตัวกลางของแสง หมายถึง วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส

2. ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น

3. ตัวกลางทึกแสง หมายถึง ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น

การหักเหของแสง

แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ

การหักเหของแสงผ่านเลนส์

เลนส์ คือ วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน เลนส์แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. เลนส์นูน มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน

2. เลนส์เว้า มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า

สรุปบทความ

 การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีท่ี 2 โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง


1. การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง
บทคัดยชื่อเรื่อง     การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล            
ปีที่โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง
ชื่อผู้ศึกษา  นางอรุณา   วชิราภากร
   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง  (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ระหว่างก่อนกับหลังการใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง (3) เพื่อศึกษาความพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2  ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติทดลอง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนบ้านหารเทา(จรุงราษฎร์ดำเนิน) จำนวน 25 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 แผน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D)  และการทดสอบค่าที (t-test)
                       ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่2มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.02/81.60  (2) ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมและประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมบูรณาการในการปฏิบัติทดลอง ปรากฏว่าหลังการจัดกิจกรรมและประสบการณ์นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สูงขึ้นก่อนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (3) ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ที่มีต่อกิจกรรมและประสบการณ์บูรณาการในการปฏิบัติทดลองปรากฏว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่/มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีจำนวนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 9 กันยายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ


การนำไปประยุกต์ใช้

   นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า

การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน


บันทึกอนุทินครั้ง ที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 2  กันยายน   2557

อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ 
ของคณะศึกษาศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับ
สามารถนำความรู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมไปใช้ในอนาคตได้ และเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กอีกด้วย 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 26  สิงหาคม 2557

ความรู้ที่ได้รับ
การนำไปะยุกต์ใช้

สามารถนำสิิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ในการสอนในอนาคตได้  เช่นการตอบคำถามแบบปลายเปิด


การประเมินผล

ประเมินตนเอง =  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
เกือบทุก


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์  จินตนา   สุขสำราญ

วันที่ 19  สิงหาคม  2557

อาจารย์ได้แจก course  syllabus และบอกข้อตกลงในการเรียน