หน่วยงาน

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 25 พฤจิกายน 2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูของแต่ละคน
 ดิฉันได้นำเสนอโทรทัศน์ครู
สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
ของเพื่อนได้นำเสนอ
-การกำเนิดของเสียง
-สารอาหารในชีวิตประจำวัน
นำเสนอวิจัย
-ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
-ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
-การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร
-การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล

หลังจากนำเสนอเรียบร้อย อาจารย์ได้สอนการทำขนม Waffle"
ส่วนผสม
1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)

วิธีการทำ
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน
3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป
4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้
5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์






การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการสอนทำอาหารได้ในหลายเรื่องมาก และเด็กๆก็ยังชอบมากด้วย เพราะเด็กๆสามารถลงมือทำจริงหรือปฏิบัติได้จริง  เด็กจึงมีความสนใจมากและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง


การประเมินผล


ประเมินตนเอง = แต่งกายเรียนร้อย สัปดาห์นี้ ได้นำเสนอโทรทัศน์ครู ได้เตรียมเนื้อหามาพร้อม

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอโทรทัศน์ครู และวิจัย  เพื่อนทำขนมอย่างสนุกสนาม

ประเมินผู้สอน =แาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโทรทัศน์ครูและวิจัย อาจารย์ก็ได้สอนวิธีการทำขนม Waffle ได้อย่างละเอียดนักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมและได้ลงมือปฎิบัติจริง เพราะอาจารย์มีวิธีในการสอนที่ดีและให้นักศึกษามีส่วนได้อย่างทั่วถึง

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 18 พฤจิกายน 2557

 สัปดาห์นี้ ยังเหลือเพื่อนๆที่นำเสอนแผนการสอนอีก3กลุ่ม
1.นกหงส์หยก (กลุ่มของดิฉัน)  ได้สอนการเปรัยบเทียบความเหมือนความต่างของนกหงส์หยก
2. สับปะรด ได้สอนประโยชน์และข้อควรระวัง
3. ส้ม ได้สอนประโยชน์จจากการแปรรูป



หลังจากนำเสนอแผนการสอนเรียบร้อยแล้ว เพื่อนก็ได้ออกมาอ่าน วิจัยและโทรทัศน์ครู

กิจกรรมในห้องเรียนทำไข่เทอริยากิ




เป็นกิจกรรมที่สามารถสอนเด็กปฐมวัยได้ 
ส่วนผสม
1.ไข่ไก่ =Egg
2.ข้าวสวย=Rice
3.แครอท=carrot 
4.ต้นหอม =leek
5.ปูอัด= a crab compresses
6.ซอสปรุงรส
7.เนย =better
วิธีการทำ
1.ตีไข่ใส่ชาม
2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้

การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย  และการทำเทอริยากิไข่ก็สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยในอนาตคได้

การประเมินผล


ประเมินตนเอง = แต่งกายเรียนร้อย สัปดาห์นี้ กลุ่มของดิฉันได้เตรียมพร้อมการนำเสนอ แต่ยังนำเสนอไม่ค่อยดีต้องปรับปรุงการสอนอีกเยอะ

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอแผนการสอนได้ดีค่ะ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เพื่อนสอนแผนการสอน

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด และให้คำแนะนำกับนักศึกษาค่ะ

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู


 เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช   

อาจารย์ สมาน  เลิศทหาร  โรงเรียน วัดจันทร์ประดิษฐาราม


สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้ยอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยนักเรียนจะศึกษาโครงงานหากมีปัญหาเรื่องโครงงานนั้นจะมี ครูให้คำปรึกษาเรื่องปัญหา ซึ่งครูจะไม่บอกวิธีการไปหมด แต่ครูจะค่อยๆบอกเพื่อเป็นแนวทางเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดแล้วเด็กก็จะจำในเรื่องนั้นๆได้
เป็นเรื่องของการการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนซึ่งวิธีการที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีความก้าวหน้า คือ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนประกอบด้วยการแก้สถานการณ์ต่างๆ ให้เด็กสนใจเรียน ครูต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอน ทุก 15 นาที่ ต้องสร้างเงื่อนไขเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจ สร้างข้อตกลงในชั้นเรียน สุดท้ายให้กำลังใจและคำชมเชย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้นักเรียนเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังคงใช้กระบวนการเรียนการสอนในเรื่องของการจัดการชั้นเรียนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในห้องเรียน ถ้าครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบนี้ได้ ก็จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นมีประโยชน์กับนักศึกษาวิชาชีพครูมากเพราะในการฝึกสอนเขาจะต้องมีวิธีการจัดการชั้นเรียนให้ได้

บันทึกอนุทินครั้ง ที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 11 พฤจิกายน 2557

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีหน่วยต่างๆมากมาย มีทั้งหมด9  กลุ่ม
 1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์
 2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
 3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ 
 4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
 5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์ 
 6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์
 7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร
 8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
 9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี

 สัปดาห์นี้นำเสนอ6 กลุ่ม อีก3กลุ่ม สัปดาห์หน้า
 กลุ่มที่1 ผลไม้


กลุ่มที่ 3 ข้างโพด

กลุ่มที่4 แตงโมง

กลุ่มที่ 5 กล้วย

กลุ่มที่6 ช้าง

กลุ่มที่ 7 ผีเสื้อ

การนำไปใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย  

การประเมินผล


ประเมินตนเอง = สัปดาห์นี้ ดิฉันไม่ได้นำแผนไปสอนเนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าสอนสัปดาฆ์ค่ะ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอแผนการสอนได้ดีค่ะ

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด และให้คำแนะนำกับนักศึกษาค่ะ






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 04 พฤจิกายน  2557

ความรู้ที่ได้รับ
 อาจารย์ได้สอนวิธีการเขียนแผน อาจารย์ได้ให้นั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้เรื่อง นกหงส์หยก
การเขียนแผนมีรูปแบบดังนี้
เสริมประสบการณ์
เคลื่อนไหวและจังหวะ
ศิลปสร้างสรรค์
เสรี(มุม)
เกมกลางแจ้ง
เกมการศึกษา


วัตถุประสงค์ของนกหงส์หยก

-ชนิด
-ลักษณะ
-ประโยชน์ข้อควรระวัง
-การขยายพันธ์
-การดำรงชีวิต

การนำไปใช้
สามารถนำกิจกรรมที่เรียนวันนี้ไปใช้สอนในอนาคตได้


การประเมินผล


ประเมินตนเอง
= ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษาได้มีการทดลองกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน ได้ให้แนวการเขียนแผน