หน่วยงาน

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 28  ตุลาคม 2557



ในสัปดาห์นีอาจารย์ได้กิจกรรมการทดลองมาให้นักศึกษาได้ทดลองกันในห้องเรียน 


 
                                        


กิจกรรมต่อมาคือ อาจารได้แจกกระดาษให้นักศึกษาได้ตัดเป็นรูปดอกไม้ พับให้เป็น4มุม แล้วระบายสีหลังจากนั้นให้เอาดอกไม้ที่พับนั้นไปลอยในน้ำ ทำให้ดอกไม้ที่พับอยู่บานออกมา



 การทดลองดินน้ำมัน  ปั่นดินน้ำมันเป็นลุกวงกลม แล้วให้ทิ้งในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น  ไม่เกิดอะไรขึ้นแต่ดินน้ำมันจมอยู่ในน้ำ



การทดลองดินน้ำมัน อีกรูปแบบหนึ่งคือ  ทำยังไงก้อได้ไม่ให้ดินน้ำมันจม  
 ดิฉันปั่นดินน้ำมันเป็นรูปตระกร้า

   

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ได้ให้เขียนแผนของแต่ละกลุ่ม

การนำไปใช้

สามารถนำกิจกรรมที่เรียนวันนี้ไปใช้สอนในอนาคตได้


การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง

ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษาได้มีการทดลองกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน ได้ให้แนวการเขียนแผน









วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่  21  ตุลาคม 2557



สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์ พร้อมบอกวิธีการทำ วิธิการเล่น และบอกของเล่นชิ้นนี้เกี่ยวอะไรกับวิทยาศาสตร์  ของเล่นที่ดิฉันนำเสนอคือ  หนังสติ๊กจากไม้ไอติม



หลังจากนำเสนองานครบหมดทุกคน อาจารย์ก้อได้ให้ประดิษฐ์ของเล่นจากแกนทิชชู่


วิธีการทำ

1.ตัดแกนทิชชู่  เจาะรูทั้ง 2 ฝั่นตรงข้าม
2. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปในรูที่เจาะ
3.แล้ววาดลงไปที่แกนทิชชู่ที่เราชอบ 



การนำไปใช้
สามารถนำผลงานที่เรียนวันนี้ไปใช้ในอนาคตได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์ และได้ออกนำเสนองานหน้าห้อง คุยเป็นช่วงๆ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา ได้ออกนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกัยประดิษฐ์ของเล่น




ของเล่นวิทยาศาสตร์

คือ หนังสติ๊กจากไม้ไอติม


อุปกรณ์

ไม้ไอติม
กระดาษสี
กรรไกร
หนังยาง
คัดเตอร์

วิธีการทำ
 1.นำไม้ไอติมทำเป็นรูปตัวY 


2. นำหนังยาง 3 เส้นมาร้อยต่อกัน และรัดที่ปลายทั้ง 2 ข้าง


3. ตัดไม้ไอติมและกระดาษนำมาตัดเป็นคล้ายกลีบดอกไม้ ม้วนกลีบโค้งเพื่อเป็นการถ่วงน้ำหนัก

4. เสร็จวิธีการทำสามารถนำไปทดลองเล่นดู


วิธีการเล่น


เอาส่วนที่เป็นตะขอเกี่ยวกับหนังสติ๊กและยิ่งขึ้นฟ้า ลูกยางก็จะค่อยๆหมุนลงมาค่อยๆอย่างสวยงาม

หลักวิทยาศาสตร์

ดีดไม้ไอติมจะทำให้ไม้ไอติมลอยขึ้น เพราะการดึงไม้ไอติมก็จะเกิดพลังงานที่สะสมในหนังยาง แล้วเมือปล่อยก็จะเกิดเป็นพลังงานจล และที่ลูกยางค่อยๆหมุนลงมาเพราะเกิดจากการแรงต้านทานของปีกลูกดอก เป็นหลักการเดียวกันกับเครื่องบิน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 14  ตุลาคม 2557


ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่พร้อมออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยที่ไม่ต้องมีลูกเล่นออกมาก่อน  เพียงแค่อธิบายการทำ อธิบายการเล่นเกีียวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำเพื่อที่จะไปปรับปรุงของเล่นให้ดีขึ้น

การนำไปใช้

นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติ่ม เพื่อไปใช้ในอนาคตข้างหน้า

การประเมินผล

ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนมีการตอบคำถามกับอาจารย์ และได้ออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน คุยเป็นช่วงๆ


ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีคุยเป็นบางเวลา  ได้ออกนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์


ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการสอนแบบคำถามแบบปลายเปิด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำเกือบทุกคน  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกัยประดิษฐ์ของเล่น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 7 ตุลาคม 2557



ไม่มีการเรียนการสอน เป็นช่วงสอบปลายภาค